ทำความรู้จัก Power Lock และวิธีใช้งาน

Power Lock มีกี่แบบ ข้อดี-ข้อเสียและวิธีใช้งาน

power lock

เพลาหรือ Shaft เป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนสำคัญ ที่ไว้ใข้สำหรับส่งกำลังหรือเอาไว้ใช้ในการขับเคลื่อน เราอาจจะคุ้นเคยหรือได้ยินกินบ่อยๆ ก็อย่างเช่น เพลารถยนต์ ซึ่งหน้าที่ของเพลารถยนต์คือ เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลังต่อจากชุดเกียร์ไปยังล้อคู่หน้า เพื่อทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนไปได้

แต่ใช่ว่าแค่เพลาเดี่ยวๆ จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ มันจำเป็นต้องมีตัวจับยึดเพลา ตัวยึดเพลา หรือที่เรียกกันว่า Shaft Support เป็นอุปกรณ์ที่ไว้สำหรับจับยึดส่วนหัว-ท้ายของเพลาร่วมกับลิเนียร์บุชชิ่ง เพื่อป้องกันการเลื่อนไปมาจากแรงสั่นสะเทือน ตัวจับยึดเพลานี้มีหลายรูปแบบด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ Power Lock

Power Lock คืออะไร

Power Lock หรือ Keyless Bushing คือ อุปกรณ์ล็อคด้วยแรงเสียดทานหรือที่จะเรียกว่า บูชล็อคเพลาไร้ลิ่มหรืออุปกรณ์ล็อคแบบไร้ลิ่มก็ได้ อุปกรณ์นี้มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างเพลาและฮับ (Hub) ให้ทำงานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีความปลอดภัย แข็งแรง แม่นยำ เที่ยงตรงสูงและทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี

สำหรับการตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหน ใช้กับงานอะไร คงต้องมานั่งคำนวณกันถึงความเหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ หากเล็กเกินไปก็จะทำให้การใช้งานนั้นไม่สมบูรณ์ หรือถ้าใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้สิ้นเปลืองไปอย่างไร้เหตุผล อุปกรณ์จับยึดเพลาเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ส่งกำลังทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น คัปปลิ้ง (Coupling) พูลเล่ย์ (Pulley) เฟืองโซ่ (Sporcket) เป็นต้น

อุปกรณ์จับยึดเพลามีด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ

  1. Taper Bush หรือ Taper Lock
    ลักษณะจะเหมือนปลอก ผิวด้านนอกจะเรียว ส่วนรูตรงกลางจะมีรูปทรงกลมและมีร่องลิ่มสำหรับสวมกับเพลางาน ที่ตัวชิ้นงานจะต้องเป็นรูเรียวเช่นกัน เพื่อให้มันรับกันกับผิวด้านนอก ของเทเปอร์บูช
    การทำงานของเทเปอร์บูชโดยการขันนอตสกรูที่ข้างตัวบูช เพื่อดันตัวเทเปอร์บูชให้จมลงในเบ้า เมื่อตัวเทเปอร์บูชจมลงในเบ้าแล้ว รูของเพลาก็จะหดเล็กลงตามไปด้วย ทำให้เกิดการบีบรัดเพลาจนแน่น สำหรับการถอดเพลาออกจากตัวเทเปอร์บูช ทำได้โดยการขันนอตสกรูเช่นเดียวกัน แต่การขันนอตนี้เป็นการทำให้ตัวเทเปอร์บูชยกตัวขึ้น เมื่อเทเปอร์บูชยกตัวขึ้น รูเพลาก็จะขยายออก เพลาที่โดนยึดไว้ก็จะหลุดออกจากตัวเทเปอร์บูช

  2. QD Taper Bush หรือ เทเปอร์บูชหน้าแปลน
    เทเปอร์บุชหน้าแปลน หลักการจะเหมือนกับเทเปอร์บูชแบบแรก แต่จะมีหน้าแปลนเพิ่มเติมขึ้นมา โดยการขันนอต สกรู จะขันที่หน้าแปลน QD Taper Bush จะใช้เทเปอร์ขนาด ¾ นิ้วต่อฟุต และมีรูสองชุด โดยที่ชุดที่หนึ่งจะมีเกลียว ส่วนอีกชุดจะไม่มีเกลียว การขันเกลียวอาจจะเลือกขันเกลียวจากด้านใดด้านหนึ่ง

  3. Power Lock หรือ Shaft Lock
    Power Lock จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตรง ไม่เรียว ที่ตัวชิ้นงานเป็นรูกลมธรรมดา เพื่อให้รับกับผิวด้านนอกของ Power Lock เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญก็สามารถใช้งานได้ เพราะเพียงแค่กลึงรูกลมๆ ที่ชิ้นงานก็สามาระนำ Power Lock มาประกอบเข้ากับชิ้นงานได้เลย ลักษณะพิเศษอีกหนึ่งอย่าง คือ Power Lock จะไม่มีรองลิ่ม สามารถล็อคเพลาได้แน่นโดยไม่ต้องใช้ลิ่ม ที่เรียกว่า อุปกรณ์ล็อคเพลาไร้ลิ่มนั่นแหละ

    การใช้งาน Power Lock ทำได้โดยการขันนอต สกรูที่อยู่รอบตัว โดยที่การขันนอต สกรูจะทำให้ผิวด้านในหรือรูเพลาหดเล็กลง เมื่อมันหดเล็กลงเท่ากับว่ามันบีบรัดตัวเพลาจนแน่น ไม่เลื่อนหรือเคลื่อนที่ ส่วนผิวนอกของ Power Lock จะขยายตัวใหญ่ขึ้นเพื่อเบ่งให้คับแน่นกับรูของชิ้นงาน

  4. Power Lock แบบ Self Centering
    Power Lock แบบ Self Centering เป็นอีกแขนงหนึ่งที่ทำงานเหมือนกับ Power Lock แบบแรก แต่จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าแบบแรกตรงที่ Self Centering เมื่อขันนอต สกรูให้บีบรัดจนแน่นแล้ว ตัวอุปกรณ์จะได้ศูนย์เดียวกับชิ้นงานโดยอัตโนมัติ และไม่ต้องปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมอีก


โดยปกติงานเกี่ยวกับเพลาจัดว่าเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนและต้องพิถีพิถันมาก เพลาต้องมีขนาดเพลาที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่นเดียวกันกับรูเพลาต้องมีพิกัดรูที่เหมาะสมด้วย ทั้งสองอย่างนี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากคำนวณพลาดไปนิดเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือปัญหาต่างๆ ได้ อุปกรณ์ล็อคเพลาจึงเข้ามามีบทบาทและทำหน้าที่นี้นั่นเอง


ข้อดี-ข้อเสียของการใช้ Power Lock

ข้อดีของการใช้ Power Lock

  • ไม่ต้องใช้ลิ่มหรือทำร่องลิ่ม
  • สามารถเชื่อมต่อได้ง่าย
  • มีความปลอดภัยสูง ไม่มีการคลอน
  • มีให้เลือกหลายรุ่น สำหรับการทำงานที่แตกต่างกัน
  • ส่งแรงบิดได้สูง
  • การตั้งศูนย์ได้ด้วยตัวเอง (Self-Centering)
  • ติดตั้งและถอดประกอบได้ง่าย
  • แข็งแรง ทนทาน
  • สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้

ข้อเสียของการใช้ Power Lock

  • ค่าใช้จ่ายสูง
  • การแปลงจากข้อต่อลิ่ม ทำให้ยาก

วิธีใช้งาน Power Lock

โดยปกติ หากต้องการใช้งานส่งกำลังด้วยเฟืองหรือพูเลย์ Pulley หากย้อนกลับไปสมัยก่อน คนส่วนใหญ่จะคิดถึง “ลิ่ม” ที่ใช้ในการล็อคเพลาและเฟืองให้หมุนไปได้พร้อมๆ กัน แต่ปัญหาก็คือ การถอดเข้าถอดออกนั้นยุ่งยาก หลายครั้งที่ช่างต้องเจียรตกแต่งเพื่อให้สามารถถอดและใส่ได้ง่าย หรือต้องตอกยัดลิ่มเข้าไป ทำให้ต้องเสียเวลาในขั้นตอนเหล่านี้

หลังจากใส่เฟืองได้เเล้ว ก็ยังพบเจอปัญหาเรื่อง “เฟืองไม่ได้ระดับ” ไม่ได้ระนาบเดียวกับเฟืองตัวอื่นๆ จากจุดบกพร่องและปัญหาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ถูกนำไปพัฒนาจนได้ออกมาเป็น Power Lock ยี่ห้อต่างๆ ข้อดีก็คือ มันใช้งานง่ายทั้งตอนถอดหรือใส่เฟือง สามารถใช้ช่างคนเดียวทำได้สบายๆ ไม่ต้องเปลืองแรงงานช่างหลายคน ไม่ต้องเสียเวลาเจียร เพียงแค่มีประแจหกเหลี่ยมอันเดียวก็สามารถประกอบได้แล้ว และยังง่ายต่อการปรับตั้งอีกด้วย

สำหรับใครที่กำลังมองหา Power Lock หรืออยากจะลองเปลี่ยนมาใช้ Power Lock แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง สามารถมาปรึกษาบริษัท ทอร์ชั่น (ไทยแลนด์) เราเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมด้าน Power Transmission ให้บริการสินค้าคุณภาพ เช่น Power Lock, Universal Joint, ยอยกากบาท, ยอยสลัก, ยอยโซ่, มอเตอร์เกียร์, Backstop, Motor Brake, Pulley และ Oil สินค้านำเข้าจากประเทศชั้นนำ อาทิเช่น ประเทศอิตาลี เยอรมัน เกาหลี ฯลฯ และมีบริการให้คำปรึกษาฟรี โดยวิศวกรทีมขาย และบริการหลังการขาย 24 ชั่วโมง


ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่

Tel : 089 338 7708, 089 229 1041
E-mail : torsion.thailand@gamil.com
Website : www.torsion-th.com
Facebook : https://www.facebook.com/torsion.thailand

Visitors: 39,581