ความแตกต่างระหว่างมอเตอร์เกียร์แบบต่าง ๆ

วิธีเลือกมอเตอร์เกียร์แบบง่าย ๆ ให้เหมาะกับการใช้งาน

มอเตอร์เกียร์

เคยสงสัยหรือไม่ว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่าง มอเตอร์เกียร์ และมอเตอร์กระแสตรง สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด ระหว่างมอเตอร์ทั้ง2 แบบ น่าจะเป็นมอเตอร์กระแสตรง สามารถทำให้เกิดความเร็วในการหมุนของเพลาโดยใช้ ยอยกากบาท (universal joint) ช่วยส่งต่อแรงหมุนในอัตราที่สูงแต่เกิดแรงบิดต่ำ ในขณะที่ Motor gear จะมีความเร็วรอบต่อนาทีต่ำแต่ทำให้เกิดแรงบิดได้สูง ทำให้ใช้งานได้หลากหลายมากกว่าการใช้มอเตอร์กระแสตรง ดังนั้น universal joint จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพลาให้ลื่นไหล


การประยุกต์ใช้งาน มอเตอร์เกียร์ มักพบในอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่า Motor Gear ถูกนํามาใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมด สามารถพบได้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การปรับเสาอากาศของงานโทรคมนาคม, ระบบล็อคความปลอดภัย, ตู้จําหน่ายสินค้าอัตโนมัติ, เครื่องจ่ายอาหารและเครื่องดื่ม, เครื่องชงกาแฟ, เครื่องตัดหญ้า, ระบบอัตโนมัติในบ้าน, ฟิตเนส, การปรับโช้คอัพ และซันรูฟ ในอุตสาหกรรมยานยนต์, เครื่องจักร CNC ฯลฯ มาทำความรู้จักคุณสมบัติมอเตอร์เกียร์แต่ละเภทเพื่อเลือกใช้งานได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด


มอเตอร์เกียร์ 4 ประเภท มีอะไรบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร?

  1. มอเตอร์เกียร์ HELICAL GEAR (FOOT / FLANGE MOUNT)
    ภาพรวมของมอเตอร์เกียร์แบบขดลวด (HELICAL GEAR) เป็นเกียร์แบบขดลวด ที่ขับเคลื่อนแบบเชิงเส้นด้วย AC หรือ DC ที่ใช้เฟืองเกลียวรูปสกรู (ตัวหนอน) ในการหมุนเฟืองเดือยปกติของ Motor gear แบบขดลวด มักใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ การจัดการวัสดุและหุ่นยนต์ ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ของการใช้ Motor gear แบบขดลวดจะมีมอเตอร์เบรก (motor brake) 2 แบบ คือ แบบหน้าแปลน (FLANGE MOUNTED) และแบบขาตั้ง (FOOT MOUNTED)

    การใช้งานมอเตอร์ 2 ชนิดนี้ ถูกนํามาใช้งานอย่างหลากหลายรวมถึงใช้ในระบบสายพานลําเลียง ปั๊ม และคอมเพรสเซอร์ มีความทนทาน สำหรับแบบ FLANGE MOUNT ให้แรงบิดเอาต์พุตสูงถึง 90 - 45,000 Nm และมีกำลังมอเตอร์ 0.12 kW – 30 kW แต่ถ้าเป็นแบบ FOOT MOUNT จะมีแรงบิดเอาต์พุต 10 - 18,000 Nm และมีกำลังมอเตอร์ 0.12 kW – 160 kW ซึ่งน้อยกว่าแบบแรก แต่อัตราทดเกียร์จาก 1.5-300 เท่ากัน และสามารถทํางานในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวนต่ำ จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม สําหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

  2. มอเตอร์เกียร์ HELICAL BEVEL GEAR
    คําจํากัดความของ Helical Bevel Gear หมายถึง มอเตอร์เกียร์ ที่เอียงแบบขดลวด โดยเพลาของชุดเกียร์ทำมุม 90 องศา อาจให้ความหนาแน่นของกําลังสูงเพราะแรงบิดเอาต์พุต 90 - 45,000 Nm. และมีกำลังมอเตอร์ 0.12 kW – 30 kW เท่ากับ HELICAL GEAR จึงเหมาะสําหรับใช้กับงานมอเตอร์เกียร์เชิงมุมต้องการความหนาแน่นของพลังงานสูง และแรงบิดเอาต์พุตของมอเตอร์เกียร์แบบเกลียวเอียง มักใช้ในสายพานลําเลียงสัมภาระ ตัวยกเชือก วาล์วควบคุมการไหล และเครื่องผสมในอุตสาหกรรม

    เนื่องจาก Helical Bevel Gear มีขนาดเล็กและให้พลังงานแบบจัดเต็ม จึงเป็นลักษณะเด่นของกระปุกเกียร์แบบเกลียวเอียง คือ ฟันโค้งอยู่ในฐานรูปกรวยและสร้างการเคลื่อนที่แบบหมุนระหว่างเพลาที่ไม่ขนานกัน จึงมีความแข็งแรงส่งผลให้การทํางานเงียบ เหมาะสําหรับการใช้งานที่ต้องการแรงบิดสูงและกําหนดค่าได้อย่างแม่นยำในการตัดเฉือนสูง เช่น งานคอนกรีต เหล็ก Oil พลาสติก ยานยนต์ และแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ในการถ่ายโอนพลังงานดีกว่า มอเตอร์เกียร์ แบบหนอน ทําให้ชุดเกียร์เอียงแบบขดลวด มีประสิทธิภาพสูงมาก และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

  3. มอเตอร์เกียร์ CYCLODRIVE GEAR
    ถ้าพูดถึงกลไกในการลดความเร็วของเพลาอินพุตตามอัตราส่วนที่กําหนด Cyclo Drive Gear ถือว่าเป็น มอเตอร์เกียร์ อีกหนึ่งชนิด ที่มีกำลังไฟฟ้าเพียง 0.1 kW – 132 kW และอัตราการทดเกียร์ในอัตราที่สูงถึง 2.5-658,503 ตรงข้ามกับขนาดที่เล็กกะทัดรัด เพลาอินพุตจะขับเคลื่อนแผ่นดิสก์แบบไซโคลลอยด์ แล้วจะขับเฟืองวงแหวนที่อยู่กับที่ให้เคลื่อนเพลาส่งกำลังออกไป ทั้งนี้ไซโคลไดรฟ์เป็นมอเตอร์เกียร์แบบสเต็ปอัพ ที่ไม่มีล้อเกียร์ อาจเกิดการสูญเสียอย่างฉับพลันจากโอเวอร์โหลดดังนั้นความจริงที่ว่า ไซโคลไดรฟ์ เหนือกว่ากลไกเกียร์แบบดั้งเดิม เนื่องมาจากการทํางานด้วยแรงกลิ้งและไม่สัมผัสกับแรงเฉือน จึงทำให้มีความทนทานมากกว่า มอเตอร์เกียร์ แบบอื่น ๆ และสามารถดูดซับ แรงกระแทกที่รุนแรงแบบ Shock load ได้ถึง 500% ของ Load ปกติ

    ดังนั้นเครื่องจึงสามารถทำงานได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องพักเครื่องก็ได้และสามารถติดตั้งได้ในทุกองศา ไม่ว่าจะเป็นแนวเอียงทะแยงมุมก็ตาม อีกทั้งยังง่ายต่อการติดตั้ง ที่สำคัญไม่มีการใช้น้ำมัน (oil) หรือจาระบีที่นอกเหนือจากสารหล่อลื่นในห้องเกียร์ ไซโคลไดรฟ์ สามารถนำไปประยุกต์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เครื่องเติมอากาศ สายพานลําเลียง ไดรฟ์เครน เครื่องติดตามพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องป้อน คูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นต้น

  4. มอเตอร์เกียร์ WORM GEARWORM GEAR
    ระบบเกียร์แบบหนอน (สกรู) ที่ให้กำลังไฟฟ้าสูงที่สุด ในบรรดา มอร์เตอร์เกียร์ ชนิดต่าง ๆ คือ 1/8HP ถึง 10 HP และมีอัตราทดเกียร์ 1:5 ถึง 1:100 ลักษณะของเกียร์ชนิดนี้ เป็นเฟืองตัวหนอนแบบ motor brake ที่สามารถควบคุมความเร็วได้ภายในตัว มักใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง การสอบเทียบเครื่องมือลิฟต์ และประตู ดังนั้นหน้าที่หลักของเฟืองตัวหนอน จึงใช้เพื่อเพิ่มแรงบิด และลดความเร็วของเกียร์ลง นั่นเอง
    ความแตกต่างระหว่างเฟืองตัวหนอนและเฟืองเกลียว คือ มอเตอร์เกียร์ หนอนจะมีล้อหนอนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เชื่อมต่อกับฟันเฟืองด้านบนของเพลาตัวหนอนเครื่องยนต์สามารถสร้างพลังงาน จากการหมุนผ่านแกนที่ไม่ตัดกัน และการตั้งฉากของล้อหนอน อาจส่งผลให้ความเร็วลดลงอย่างมาก เพราะมี backstop ในตัว จึงมีประโยชน์ในการใช้โหลดของหนักและมีแรงกระแทกสูง เช่น อุตสาหกรรมเคมีและปุ๋ย อุปกรณ์บด อุปกรณ์บรรจุ สายพานลําเลียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเฟืองตัวหนอน แบบเพลายื่น (Solid Shaft) ที่มีกำลังไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีอัตราทดเกียร์สูงกว่า worm gear ปกติ คือ 1:10 ถึง 1:60 นั่นเอง

หลังจากที่อ่านจบแล้วมีคำถามหรือข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม ติดต่อ บริษัท ทอร์ชั่น(ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน มอเตอร์เกียร์ พร้อมให้บริการและคำแนะนำเกี่ยวกับ Motor gear สินค้าอุตสาหกรรมต่าง เช่น ยอยกากบาท (Universal Joint), Power Lock, ยอยโซ่, pulleyมอเตอร์เกียร์ คุณภาพสูง พร้อมทีมงานผู้เฉพาะทางคอยบริการให้คำปรึกษาแบบละเอียด เกี่ยวกับสินค้าประเภทนั้น ๆ ตามที่คุณต้องการ

Visitors: 39,602